วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การงอกของเมล็ดพืช

ขั้นตอนการงอกของเมล็ดมี 3 ระยะคือ

                ระยะที่ 1 การดูดน้ำเข้าในเมล็ด
                ระยะที่ 2 มีการทำงานของเอนไซม์และการสังเคราะห์เอนไซม์
                ระยะที่ 3 มีรากงอกออกมาและมีการดูดน้ำเข้าไปในเมล็ดเป็นปริมาณมาก


การที่เมล็ดจะงอกออกมาเป็นต้นอ่อนได้จะต้องมีสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. เมล็ดต้องมีชีวิต คือ เอ็มบริโอ(ต้นอ่อน)มีชีวิตอยู่และพร้อมที่จะงอก

2. เมล็ดต้องได้รับสภาพแวดล้อมภายนอกที่เหมาะสม เช่น มีความชื้นพอเพียงมีอุณหภูมิพอเหมาะ มีออกซิเจนและเมล็ดบางชนิดต้องการแสงในการงอกด้วย

3. เมล็ดต้องมีสภาพภายในเมล็ดเหมาะสม คือ สภาพการพักตัวครั้งแรก (primary dormancy)ภายในเมล็ดต้องหมดไปแล้ว กระบวนการภายในเมล็ดที่จะทำให้สภาพการพักตัวครั้งแรกหมดไปเรียกรวมว่าๆว่า after-ripening และเป็นผลเนื่องมาจากปฏิกิริยาของสภาพแวดล้อมกับสภาพการพักตัวครั้งแรกเฉพาะอย่างกระบวนการ after-ripening ต้องการเวลาระยะหนึ่งและบางครั้งต้องการการจัดการกับเมล็ดเป็นพิเศษด้วย ถึงแม้ไม่มีสภาพการพักตัวครั้งแรกและ/หรือเมล็ดได้รับสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมก็อาจเกิดการพักตัวครั้งที่สองขึ้นได้ซึ่งจะทำให้เมล็ดงอกช้า

เมล็ดข้าวเปลือกก่อนงอก
                       
ขั้นตอนการงอกของเมล็ด : การงอกของเมล็ดแบ่งได้เป็นหลายขั้นตอน บางขั้นตอนก็ก้ำกึ่งกันดังนี้

ระยะที่ 1 : ระยะเริ่มทำงาน (Activation) 

ก.การดูดน้ำเข้าในเมล็ด (Imbibition of water ) ระยะนี้เมล็ดที่มีความชื้นต่ำตอนเก็บรักษาจะน้ำเข้าในเมล็ดทำให้ความชื้นในเมล็ดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในตอนแรกแล้วคงที่ การดูดน้ำในระยะแรกเกี่ยวข้องกับการดูดน้ำของสารคลอลีนในเมล็ดที่มีความชื้นต่ำนั้น น้ำจะช่วยทำให้เปลือกเมล็ดอ่อนลงและทำให้โพรโทพลาสซึมในเซลล์ได้รับน้ำ เมล็ดบวมขึ้นและเปลือกเมล็ดอาจแตก การดูดน้ำของเมล็ดเป็นกระบวนการทางฟิสิกส์ คือ เมล็ดที่ไม่มีชีวิตก็สามารถดูดน้ำได้เช่นเดียวกัน

ระยะการดูดน้ำเข้าในเมล็ด

เมื่อเกิดการงอก การดูดน้ำจะมี 3 ขั้นตอน คือ
*  ระยะแรกน้ำในเมล็ดเพิ่มขึ้นเป็น 40-60% ของน้ำหนักสดซึ่งสมดุลกับ 80-120%ของน้ำหนักแห้ง(ปริมาณน้ำ/น้ำหนักแห้งแต่แรก)

** ระยะช้า(lag period)หลังจากนั้นจึงมีรากงอกให้เห็น

*** เมื่อต้นกล้าโตขึ้นมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 170-180%ของน้ำหนักแห้ง

ข. การสังเคราะห์เอมไซม์ (Synthesis of enzymes) เมื่อเมล็ดดูดน้ำการทำงานของเอมไซม์จะว่องไวขึ้นภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ความว่องของเอมไซม์ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากเอมไซม์มีอยู่เดิมที่สร้างขึ้นในระหว่างการพัฒนาของเอ็มบริโอ และเก็บสะสมไว้เกิดว่องไวขึ้นมาใหม่ อีกส่วนหนึ่งมาจากการสังเคราะห์ใหม่เมื่อเริ่มมีการงอก การสังเคราะห์ ต้องการโมเลกุล RNA ซึ่งมีโปรแกรมเฉพาะ บางส่วนสร้างขึ้นระหว่างการพัฒนาของเมล็ดและเก็บไว้ระหว่างกระบวนการ ripening และมีมาเพื่อกระตุ้นการงอก ส่วนอื่นสร้างขึ้นหลังจากเริ่มงอกแล้ว พลังงานสำหรับกระบวนการเหล่านี้ได้มาจากฟอสเฟสบอนด์ ซึ่งมีพลังงานสูงใน ATP ในไมโทรคอนเดรีย ATP บางส่วนมีเก็บรักษาไว้ในเมล็ดที่พักตัวกลับว่องไวใหม่เมื่อเมล็ดดูดน้ำเข้าไป

ค. การยืดของเซลล์และการงอกของราก (Cell elongation and emergence of the radicle) สิ่งแรกที่เห็นเมื่อเมล็ดงอกคือปรายรากงอกออกมา ซึ้งเกิดจากเซลล์ขยายขนาดใหญ่ขึ้นมามากกว่าเกิดจากการแบ่งตัว การงอกของรากอาจเกิดขึ้นภายใน 2-3 ชั่วโมง หรือ 2-3 วันภายหลังจากการงอกได้เริ่มขึ้นและแสดงว่าระยะที่ 1 ได้สิ้นสุดลง
การงอกของรากแสดงถึงสิ้นสุดการงอกระยะที่ 1 (ตรวจพบการงอกระยะที่ 1 เมื่อวันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2556)

ระยะที่ 2 : การย่อยอาหารและลำเลียงอาหาร ( Digestion and Translocation)

อาหารที่สะสมไว้ในเอนโดสเปิร์ม ใบลี้ยง เพอริสเปิร์ม หรือ แกมิโตไฟล์ของเพสเมียในพืชจำพวกสน อาหารสะสมในรูปของไขมัน โปรตีนและคาร์โบไฮเดรตจะถูกย่อยให้เป็นสารที่มีโครงสารง่ายๆแล้วเคลื่อนย้ายไปที่จุดเจริญสวนต่างๆของเอนบริโอ คือ

- อาหารสำรองในรูปของไขมันและน้ำมันจะถูกย่อยเป็นกรดไขมันและน้ำตาล
- โปรตีนจะถูกย่อยเป็นสารประกอบที่มีไนโตรเจนเป็นหลักซึ่งจำเป็นในการเจริญเติบโตของต้นกล้า
- แป้งจะถูกย่อยเป็นน้ำตาล

เซลล์ทั้งระบบจะถูกกระตุ้นให้ทำงาน ระบบการสังเคราะห์โปรตีนทำหน้าที่ผลิตเอนไซม์ใหม่และผลิตสารที่เป็นโครงสร้าง สารประกอบที่ควบคุมการเจริญเติบโตฮอร์โมน และกรดนิวคลิอิกเพื่อทำหน้าที่ของเซลล์ต่อไปและสังเคราะห์สารใหม่ การดูดน้ำและการหายใจในระยะนี้เกิดขึ้นในอัตราที่คงที่

การงอกระยะที่ 2

ระยะที่ 3 : การเติบโตของต้นกล้า (Seedling growth )

ในระยะที่ 3 นี้การพัฒนาของต้นกล้าเริ่มจากการแบ่งเซลล์ที่ปลายยอดของปลายรากต้น จากนั้นโครงสร้างของต้นกล้าจึงขยายใหญ่ขึ้น การเริ่มแบ่งเซลล์ที่ปลายยอดและปลายรากเป็นอิสระกับการเริ่มยืดตัวของเซลล์

เอ็มบริโอประกอบด้วยแกนต้น (axis) มีใบเลี้ยง 1 ใบหรือมากกว่า 1 มีรากเรียกว่า radicle ซึ่งเจริญจากโคนของแกนต้นมีต้นกว่า plumule มีส่วนยอดอยู่ที่ปลายของแกนต้นและอยู่เหนือใบเลี้ยง ลำต้นของต้นกล้าส่วนที่อยู่ใต้ใบเลี้ยงเรียกว่า hypocotyl และส่วนที่อยู่เหนือใบเลี้ยงเรียกว่า epicotyl

เมื่อมีการเติบโตเกิดขึ้นจากแกนต้น น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของต้นเพิ่มขึ้นแต่น้ำหนักของเนื้อเยื่อสะสมอาหารทั้งหมดลดลง อัดตราการหายใจวัดได้จากการใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้นอย่างคงที่พร้อมกับการเติบโตที่เพิ่มขึ้น เนื้อเยื่อสะสมสารอาหารของเมล็ดหมดหน้าที่ในกระบวนการเมแทบอลิซึม ยกเว้นในพืชที่มีใบเลี้ยงอยู่เหนือดินและสามารถสังเคราะห์แสงได้การดูดน้ำเพิ่มขึ้นอย่างคงที่เมื่อมีรากใหม่เจริญออกมาวัสดุเพาะและน้ำหนักสดของต้นกล้าเพิ่มขึ้นด้วย

การเริ่มเติบโตต้นกล้า 2 แบบ แบบที่ 1 เรียกว่า epigeous germinate คือส่วนของลำต้นที่อยู่ใต้ใบเลี้ยง (hypocotyl) ยืดตัวและชูใบเลี้ยงขึ้นเหนือดิน ตัวอย่างเช่นถั่วเหลือง ถั่วลิสง แบบที่ 2 เรียกว่า hypogeous germination คือสวนของลำต้นที่อยู่ใต้ใบเลี้ยงยืดตัวแต่ไม่ได้ชูใบเลี้ยงขึ้นเหนือดิน มีเพิ่งสวนที่อยู่เหนือใบเลี้ยง (epicotyl) ที่โผล่พ้นผิวดิน ตัวอย่างเช่น ข้าวโพด ท้อ


ภาพแสดงการงอกระยะที่ 3 การเจริญเติบโตของต้นกล้า (ตรวจพบการงอกระยะที่ 3 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม 2556)

           ตารางที่ 1 อุณหภูมิระดับต่างๆที่เมล็ดพันธุ์พืชชนิดต่างๆสามารถงอกได้

ชนิดพืช
อุณหภูมิ (องศาเซลเซียส)
ต่ำสุด
เหมาะสม
สูงสุด
ข้าว
10-20
20-30
40-42
ข้าวโพด
3-5
15-20
30-40
ข้าวบาร์เลย์
8-10
25
40-44
ข้าวสาลี
3-5
15-20
30-43
ถั่วเหลือง
8
20-35
40
มะเขือเทศ
20
20-30
35-40
ยาสูบ
10
24
30
แคนตาลูป
16-19
20-30
45-50

* หมายเหตุ อุณหภูมิในช่วงหยอดเมล็ดข้าวถึงช่วงข้าวงอกต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส


ตารางที่ 2 เมล็ดพันธุ์ที่ต้องการ และไม่ต้องการแสงสำหรับการงอก

เมล็ดพันธุ์ที่ต้องการแสง
เมล็ดพันธุ์ที่ไม่ต้องการแสง
ยาสูบ
ปอกระเจา
สตรอว์เบอร์รี่
ผักกาดเขียวปลี
ผักกาดหอม
พริก
มะเขือ
มะเขือเทศ
ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง
งา ปอแก้ว
ถั่วเขียว ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วลาย ถั่วแขก ถั่วฝักยาว
กะหล่ำปลี ผักกาดกวางตุ้ง
ผักกาดขาวปลี ผักกาดหัว
แตงโม แตงกวา แตงเทศ
บวบเหลี่ยม  หอมหัวใหญ่


ขอบคุณข้อมูล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น