ผีเสื้อข้าวเปลือก (Angoumois Grain moth)
ชื่ออื่นๆ -
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sitotroga cerealella Olivier
วงศ์ Gelechiidae
ความสำคัญและลักษณะการทำลาย
เป็นศัตรูที่สำคัญสุดของข้าวเปลือก เข้าทำลายโดยการวางไข่ที่เมล็ดข้าวเปลือกตั้งแต่ยังอยู่ในนา แล้วติดตามมาทำลายในยุ้งและโรงสีต่อไป การทำลายจะสูงเมื่อทำการเก็บเกี่ยวข้าวล่าช้ากว่าปกติ ตัวอ่อนจะอาศัย และกัดกินภายในเมล็ดจนเหลือแต่เปลือกหากเข้าไปในยุ้งเก็บข้าวเปลือก จะเห็นผีเสื้อข้าวเปลือกบินหรือเกาะอยู่บนกองข้าว ดังนั้นการทำลายจึงมักจะมีเฉพาะส่วนบนของกองข้าวเท่านั้น
รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ
เป็นผีเสื้อที่มีขนาดเล็กมามีสีน้ำตาลอ่อน วัดขณะเมื่อกางปีกออกจะยาวประมาณ 12 มม. ปีกหลังมีสีออกเท่า ตามปีกจะมีขนยาว ๆ เป็นแผงซึ่งมีความยาวมากกว่าความกว้างของปีกปลายปีกจะโค้งแหลมยื่นออกไป เมื่อเกาะอยู่ปีกจะหุบขนานกับลำตัว ตัวเมียวางไข่ทั้งเป็นกลุ่มหรือเดี่ยวครั้งละประมาณ 20 ฟองบนเมล็ดข้าวเปลือก โดยทั่วไปตัวเมียตัวหนึ่งอาจจะวางไข่ได้มากว่า 100 ฟอง และอาจถึง 500 ฟอง ไข่มีสีขาวรูปยาวรีและจะฟักใน 4-6 วัน เป็นตัวอ่อนแล้วจะเจาะเมล็ดเข้าไปอาศัยอยู่ภายใน ใช้เวลา 26-35 วัน ก็จะเข้าดักแด้ ระยะดักแด้ 3-6 วัน เมื่อเป็นตัวเต็มวัยจะเจาะผิวเมล็ดออกมาทำให้เมล็ดเป็นรู แล้วตัวเต็มวัยก็จะสืบพันธุ์และขยายพันธุ์ต่อไป และมีชีวิตอยู่ได้เพียง 3-7 วัน วงจรชีวิตใช้เวลา 36-42 วัน
การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด
มีการแพร่กระจายไปทั่วโลก ในประเทศไทยทำลายข้าวเปลือกในยุ้งและโรงสี ตลอดปี
พืชอาหาร
นอกจากทำลายข้าวเปลือกแล้ว ยังทำความเสียหายให้กับข้าวโพด ข้าวสาลีและเมล็ดพืชชนิดอื่นด้วย
การป้องกันกำจัด
- เก็บรักษาเมล็ดข้าวเปลือกในโรงเก็บหรือภาชนะที่ปิดมิดชิด และทำความสะอาดโรงเก็บก่อนนำเมล็ดข้าวเข้าไปเก็บรักษาอย่าให้มีเมล็ดพืชเก่าตกค้างอยู่
- ลดความชื้นในเมล็ดให้เหลือ 10% เพื่อลดจำนวนแมลง
- ควบคุมอุณหภูมิโดยการใช้ความร้อนหรือเย็นจัดเพื่อให้แมลงหยุดการเจริญเติบโตและบางชนิดตายไป
- เก็บรักษาในสภาพสุญญากาศหรือภาชนะที่ปิดมิดชิด
- ใช้สารฆ่าแมลง ตามคำแนะ
- ทำการฉีดพ่นด้วยน้ำสกัดสมุนไพรจากดีปลี
- คลุกเมล็ดข้าวกับผงแห้ง เช่น ขี้เถ้า พริกไทย หรือน้ำมันพืชที่ใช้ปรุงอาหาร เป็นต้น
ที่มา
http://www.brrd.in.th/rkb/enemy_khao/index.php-file=content.php&id=91.htm
http://www.ikaritrading.com/angoumoisgrain.htm
http://app1.bedo.or.th/rice/DiseaseInfo.aspx?id=30
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น