วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

นาปรังข้าวสินเหล็กพันธุ์แท้ อายุ 6 สัปดาห์

ครบ 6 สัปดาห์แล้วสำหรับนาปรังข้าวสินเหล็กพันธุ์แท้ ข้าวที่ส่าม(แซม)ไว้ต้นแข็งแรงดี คาดว่ารากใหม่กำลังเจริญ ความสูงและสียังไม่เปลี่ยนแปลงจากกล้า 





ข้าวในส่วนที่คัดไว้ 1200 ต้นส่วนมากก็กำลังเจริญเติบโต บางต้นแตกกอ บางต้นตายไปก็ส่ามลงไปใหม่ ตายเพราะต้นกล้าเล็ก เตี้ย และจมอยู่ใต้น้ำ




แหนแดงบางบริเวณมีสีแดง บางบริเวณสีเขียว อัตราการเจริญเติบโตยังต่ำกว่าที่เลี้ยงในบ่อเพาะ พบลูกอ๊อดคางคกจำนวนมาก อาจเป็นสาเหตุที่แหนแดงเจริญเติบโตไม่ดีเพราะลูกอ๊อดอาจกินแหนแดงต้นเล็กเป็นอาหาร



พบขุยไส้เดือนกระจายทั่วแปลงนา แสดงถึงไส้เดือนเข้ามาอาศัยอยู่และขยายพันธุ์ในแปลงนา ไส้เดือนย่อยสลายซากพืชและขับถ่ายมูลออกมาเป็นปุ๋ยให้ต้นข้าวอีกทางหนึ่ง เราพบขุยไส้เดือนทั่วไปในแปลงนาโรงเรียนเมื่อฤดูนาปีที่ผ่านมาเพราะเป็นผืนนาอินทรีย์ไม่เคยใช้สารเคมีใด ๆ เลยตลอดช่วงเวลาสิบปีที่ทำนา แต่ไม่พบขุยไส้ดือนในแปลงนาเช่าเพราะเป็นปีแรกที่ทำนาอินทรีย์ ก่อนหน้านี้ผู้เช่าคนก่อนทำนาแบบทั่วไปที่ใช้ปุ๋ยเคมี




ไส้เดือนดิน ( Earthworm )

     Phylum    :  Annilida
     Class       :  Oligochaeta
     Family      :  Lumbricidae  
     Genus      :  Pheretima
     Species    :  posthuma  และ  peguana  (ไส้เดือนดินที่พบมากในประเทศไทย)


ลักษณะทั่วไป

     1. จัดเป็นผู้บริโภค ( consumer ) ระดับ Scarvenger กินเข้าไปย่อยภายใน
     2. มีลำตัวเป็นปล้อง ๆ ( Segmentation ) มีเยื่อ Cuticle คลุมผิวหนัง
     3. ผิวหนังบางชื้นใช้หายใจได้ เคลื่อนไหวโดยใช้เดือยรอบ ๆ ปล้อง ( Seta )
     4. ปล้องที่ 14, 15, 16 เรียกว่า Clitellum สร้างปลอกหุ้มไข่ ( Cocoon )
     5. เป็นกระเทยที่แท้จริง สร้างได้ทั้งไข่และอสุจิแต่ผสมกันในตัวเองไม่ได้
     6. มีกึ่น ( Gizzard ) ช่วยในการย่อยอาหาร
     7. มีอวัยวะขับถ่ายเรีบกว่า Nephridia ขับของเสียที่เป็นของเหลวออกทางรูผิวหนัง
     8. มีหัวใจเทียม ( pseudoheart ) อยู่ระหว่างปล้องที่ 8 - 13
     9. มีเลือดสีแดง Hemoglobin อยู่ในน้ำเลือด ( Plasma )
     10. มีเส้นประสาททางด้านท้อง Ventral nerve cord


ดินขุยไส้เดือนหรือมูลของไส้เดือน ( Cast ) เป็นดินที่ไส้เดือนขึ้นมาขับถ่ายออก กองไว้รอบ ๆ รู ตั้งเป็นแท่งทรงกลม ซึ่งจากการศึกษาเพิ่มเติมพบว่าดินขุยไส้เดือนอุดมไปด้วยจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตรวมทั้งสารชีวะเคมีที่มีประสิทธิภาพช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดี นอกจากนั้นเมื่อ ปี พ ศ 2545 ได้มีรายงานการวิจัยพบสารฮอร์โมนสำคัญเพื่อการเจริญเติบโตของพืชในมูลไส้เดือนดินเพิ่มขึ้นจากเดิม มูลไส้เดือนนอกจากจะมีคุณสมบัติในการปรับปรุงโครงสร้างของดินและให้ธาตุอาหารแก่พืชเหมือนปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์ทั่วไปแล้ว มูลไส้เดือนยังมีสิ่งที่เหนือกว่าปุ๋ยทั่วไปดังนี้ 

      1. มีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์แก่พืชอยู่เป็นจำนวนมาก
      2. มีฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตของพืช (growth hormones) และโฮโมนที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เช่น ออกซิน (auxins) ,จิบเบอริลิค แอซิด (gibberellic acid), ไคเนติน (kinetins)และไซโตไคนิน (cytokinin) 
      3. มีเอนไซม์ต่างๆเช่น เอนไซม์ย่อยฟอสแฟต (phosphates) เอนไซม์ย่อยเซลลูโลส (cellulase) และไคติเนส (kitinase)

ปัจจุบันวิทยาศาสตร์เพิ่งเริ่มเข้าใจความสำคัญของสารอินทรีย์เหล่านี้ว่าทำหน้าที่ต่าง ๆ เช่นกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์พืช  ทำให้รากรับอาหารไปใช้ การหันหน้าของดอกไม้เข้ารับแสงแดด ควบคุมความยาวของเซลล์และแม้กระทั่งทำหน้าที่เป็นสารต้านการแก่ตัวของพืชไม่ให้เน่าเปื่อยเร็ว   นอกจากนั้นยังค้นพบว่ามีเอนไซม์ไคติเนส (kitinase) ซึ่งสามารถละลายไคตินสารชีวะเคมีชนิดหนึ่งที่ประกอบกันเป็นเปลือกชั้นนอกของแมลง ด้วยเหตุนี้มูลไส้เดือนดินจึงมีฤทธิ์ในการขับแมลงด้วย (insect repellent)

โดยไส้เดือนดินที่อยู่ตามผิวดินหรือใต้ซากอินทรีย์จะมีประสิทธิภาพในการย่อยสารอินทรีย์ในดินได้ดีกว่า และมีการขยายพันธุ์ที่รวดเร็วกว่าด้วย โดยทั่วไปในธรรมชาติไส้เดือนดินมีอายุที่ยาวนาน ตั้งแต่ 4 -10 ปีขึ้นอยู่กับชนิดของไส้เดือนดิน แต่เมื่อนำมาเพาะเลี้ยงมักพบว่าไส้เดือนดินมีอายุสั้นลง โดยทั่วไปจะมีอายุเฉลี่ยไม่เกิน 2 ปี


การเก็บมูลไส้เดือน

       1. มูลไส้เดือนมีลักษณะเป็น ขุยดินร่วน อยู่ด้านบนของที่อยู่ไส้เดือน
       2. เก็บมูลปุ๋ยไส้เดือนโดยใช้มือโกยขุยดินที่อยู่ด้านบนของที่อยู่ไส้เดือน ออกมาใส่ภาชนะ แล้วนำไปตากแดด โดยคัดเอาตัวไส้เดือนออกจากกองขุย ทั้งหมด ตากแดดไว้ประมาณ 30 – 40 นาที แล้วนำไปผึ่งลมในที่ร่ม 30 นาที เพื่อไม่ใช้ปุ๋ยมูลไส้เดือนแห้งเกินไป
       3. จากนั้นนำไปแปรรูป เช่นการอัดเม็ด หรือ เก็บไว้เลยก็ได้ ปุ๋ยนี้จะมีจุลลินทรีย์ ประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์


ประโยชน์และการนำมาใช้

       1. ปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน จะมีอนุภาคละเอียด จึงสลายตัวได้ตามกระบวนการทางชีวภาพ เกิดธาตุอาหารหลัก และธาตุอาหารรอง จุลธาตุนี้จะง่ายต่อการดูดซับผ่านรากของพืช ได้ง่ายและรวดเร็ว
       2. มีฮิวมัส และจุลินทรีย์ ที่เป็นประโยชน์ต่อดิน และต่อพืช ช่วยทำให้ดินร่วนซุย
       3. แม้จะใช้ปริมาณน้อย แต่มีประสิทธิภาพสูงมาก
       4. ใช้ได้กับ ไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ใบ ไม้กระถาง สนามหญ้า พืชผักสวนครัวทุกชนิด ไม้ผล นาข้าว 
       5. โรยปุ๋ยชนิดนี้ประมาณ 200 – 300 กรัม ต่อต้น ทุก 7 - 15 วัน หลังใส่ ควรพรมน้ำเล็กน้อยก่อน เพื่อให้ปุ๋ยจับตัวกัน แล้วจึงรดน้ำตามปกติ
       6. สำหรับนาข้าว นำไปใช้ก่อนไถกลบ ประมาณ 30 – 50 กิโลกรัม / ไร่ จะสามารถปรับสภาพดินให้มีความสมบูรณ์ ดินร่วนซุย และ ป้องกันการเกิดโรคใบไหม้ในนาข้าวได้


ขอบคุณขัอมูลจาก
http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir/bitstream/123456789/3910/1/Fulltext+SUT1-104-50-36-57.pdf
http://home.kku.ac.th/pracha/Earthworm%20Culture.htm
http://www.baanmaha.com/community/thread44435.html



เก็บข้อมูลวันจันทร์ที่ 27 มกราคม 2557

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น