วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บุญเดือนยี่ บุญคูณลาน

            เป็นการทำบุญขวัญข้าวที่นวดเสร็จและกองไว้แล้วในลานข้าว กำหนดทำในเดือนยี่จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ มูลเหตุที่จะมีการทำบุญชนิดนี้นั้นเนื่องจาก ผู้ใดทำนาได้ข้าวมาก ๆ ก่อนหาบหรือขนข้าวมาใส่ยุ้งฉางก็อยากจะทำบุญกุศล เพื่อเป็นสิริมงคลให้เพิ่มความมั่งมีศรีสุขแก่ตนและครอบครัวสืบไป ก่อนทำบุญคูณลาน มีประเพณีของชาวอีสาน บางแห่งบางอย่าง เรียกว่า ไปเอาหลัวเอาฟืน โดยชาวบ้านกำหนดเอาวันใดวันหนึ่งในเดือนยี่
            คำว่า"คูณลาน" หมายถึง เพิ่ม หรือทำให้มากขึ้น ส่วนคำว่า"ลาน" คือ สถานที่สำหรับนวดข้าว ซึ่งการนำข้าวที่นวดแล้วกองขึ้นให้สูง เรียกว่า "คูณลาน"
            ภายหลังเก็บเกี่ยวข้าวนาเสร็
จแล้วพากันไปเอาหลัวเอาฟืนมาเตรียมไว้สำหรับก่อ ไฟหุงต้มอาหารบ้างใช้สำหรับก่อไฟ ผิงหนาวบ้าง สำหรับให้สาว ๆ ก่อไฟปั่นฝ้ายตามลานบ้านบ้าง (คำว่าหลัว หมายถึง ไม้ไผ่ที่ตายแล้ว เอามาใช้เป็นฟืน หมายถึงไม้แห้ง ที่มีแก่นแข็งทุกชนิด เพื่อใช้ทำฟืนก่อไฟโดยทั่วไป) มูลเหตุดั้งเดิมที่จะมีการทำบุญคูณลาน มีเรื่องเล่าว่า ครั้งพุทธศาสนา ของพระกัสสะปะมีชายสองคนพี่น้องทำ นาในที่เดียวกัน พอข้าวออกรวงเป็นน้ำนม น้องชายได้ชวนพี่ชายทำข้าว มธุปายาสถวายพระสงฆ์ แต่พี่ชายไม่เห็นชอบด้วย ทั้งสองพี่น้องจึงแบ่งนากันคนละส่วน เมื่อน้องชายได้เป็นเจ้าของที่นา ที่แบ่งกันแล้ว  ก็เอาข้าวในนาของตนทำทานถึง 9 ครั้ง คือเวลาข้าวเป็นน้ำนม 1 ครั้งเป็นข้าวเม่า 1 ครั้ง เก็บเกี่ยวข้าว 1 ครั้ง จักตอกมัด 1 ครั้ง มัดฟ่อน 1 ครั้ง กองในลาน 1 ครั้ง ทำเป็นลอม 1 ครั้ง เวลาฟาด 1 ครั้ง ขนใส่ยุ้งฉาง 1 ครั้ง และตั้งปณิธาน ปรารถนาให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในอนาคต พอถึงพุทธศาสนาของพระสมณโคดมถึงได้เกิดเป็นโกณฑัญญะ ได้ออกบวชและ สำเร็จพระอรหันต์เป็นปฐมสาวก ได้ชื่อว่าอัญญาโกณฑัญญะ ส่วนพี่ชายได้ทำบุญเพียงครั้งเดียวเฉพาะตอนทำนาเสร็จแล้ว เมื่อถึงศาสนาพระสมณฅโคดมได้เกิดเป็นสุภัททปริพาชกได้สำเร็จอนาคามิผลเป็น พระอริยบุคคลองค์สุดท้าย ในพระพุทธศาสนา เนื่องจากอานิสงส์จากให้ข้าวเป็นทานน้อยกว่าน้องชาย ชาวอีสานเมื่อทราบอานิสงส์จากการทำบุญดังกล่าวจึงได้นิยมทำบุญคูณลาน ต่อ ๆ กันมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น