วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Biological Indicator ในแปลงนาอินทรีย์

ผ่านเข้าสู่สัปดาห์ที่ 11 สำหรับนาปรังข้าวสินเหล็กพันธุ์แท้ ในช่วงที่เราขังน้ำในแปลงนา มีสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมากมายที่อาศัยในแปลงนาอินทรีย์ของเรา บางชนิดเป็นตัวบ่งชี้ถึงคุณภาพสิ่งแวดล้อมของระบบนิเวศน์แปลงนาอินทรีย์หรือตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ เป็นการใช้คุณสมบัติเฉพาะตัวของสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งหรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตในการบ่งชี้ถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมหรือติดตามปริมาณของ มลพิษต่าง ๆ ซึ่งมีข้อดีที่แตกต่างจากการใช้เครื่องมือวัดทางกายภาพอื่น ๆ คือ สามารถบอกถึงผลโดยรวมที่เกิดขึ้นจริงต่อระบบนิเวศได้ ในขณะที่การใช้เครื่องมือจะสามารถวัดได้เพียงปริมาณของสารต่าง ๆ หรือปัจจัยแยกเป็นตัว ๆ เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าการใช้เครื่องมือ และยังเป็นเทคโนโลยีที่เราสามารถพัฒนาให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของเราได้

พบลอกคราบตัวอ่อนแมลงปอจำนวนมาก





 การกระจายตัวของขุยไส้เดือน



สัตว์นักล่า(ผู้บริโภค)ที่ช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืช



เก็บข้อมูลวันอังคารที่ 25 กุมภาพันธุ์ 2557

ลักษณะที่ต่างกันของข้าวที่พบ

ข้าวที่เราพบในแปลงข้าวสินเหล็กทั้ง 3 ลักษณะนั้น ลักษณะที่ 1.ป้ายสีเหลือง กับลักษณะที่ 3.ป้ายสีฟ้า มีลักษณะใกล้เคียงกันมากในตอนที่ต้นข้าวยังเล็กอยู่ แต่เมื่อโตขึ้นเราก็พบลักษณะที่แตกต่างกันชัดเจนมากขึ้น ซึ่งเมื่อตามเก็บข้อมูลต่อไปจนข้าวออกรวง เราก็จะได้ข้อสรุปลักษณะประจำพันธุ์ของข้าวสินเหล็กพันธุ์แท้ซึ่งเป็นองค์ความรู้ของเราเองที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลมาทั้ง 2 ฤดู เมื่อได้ข้อสรุปจากนาปรังฤดูนี้ เราจะสามารถแนะนำวิธีจัดการแปลงนาให้กับเกษตรกรที่สนใจจะร่วมเป็นเครือข่ายข้าวอินทรีย์ของเราได้อย่างถูกต้องว่าในขั้นตอนการตัดพันธุ์ปน ควรถอนต้นข้าวลักษณะใดออกจากแปลง ข้าวลักษะใดที่ไม่ควรตรวจพบการปนเลยในข้าวสินเหล็กที่สีเป็นข้าวสารแล้วเพราะสามารถทวนสอบไปกระบวนการการดูแลเอาใจใส่แปลงนา ความประณีต

1. ลักษณะกอที่ต่างกัน



2. ลักษณะทรงพุ่มของการแตกกอต่างกัน



3. ลักษณะใบแก่ที่ต่างกัน



 4. ลักษณะของเขี้ยวกันแมลงที่ต่างกัน



ตรวจพบข้าวไรซ์เบอรร์รี่ 1 ต้นในแปลงนาส่วนที่ 2 คาดว่าจะเป็นข้าวเรื้อ



ข้าวเรื้อบางส่วนที่ยังตัดพันธุ์ปนไม่หมดออกรวงแล้ว





เก็บข้อมูลเมื่อวันอังคารที่ 25 กุมภาพันธุ์ 2557

วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ข้าวนาปรังสินเหล็กพันธุ์แท้ อายุ 10 สัปดาห์

ครบสัปดาห์ที่ 10 แล้ว สำหรับข้าวนาปรังสินเหล็กพันธุ์แท้ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแตกต่างกับช่วงข้าวนาปีอย่างสิ้นเชิง เพราะในฤดูนาปี ปีที่ผ่านมา เราพบข้าวออกรวงเมื่อายุ 60 วัน แต่สำหรับนาปรังขณะนี้ข้าวอายุ 70 วัน ก็ยังเจริญเติบโตไม่เท่ากับข้าวนาปีที่อายุเท่ากัน อาจจะมีสาเหตุมาจากอุณหภูมิที่หนาวเย็นมากในปีนี้ ซึ่งส่งผลต่อการงอกของเมล็ดข้าวและทำให้ข้าวชะงักการเจริญเติบโต




สำหรับสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นสัปดาห์แห้ง คือปล่อยให้น้ำแห้งจากแปลงนาเพื่อแกล้งข้าว ให้เกิดการแตกกอดี ทิ้งให้พื้นนาแห้งจนแตก เพื่อเป็นการให้รากข้าวได้รับออกซิเจนมากขึ้น ปลายสัปดาห์นี้เราจะหว่านปุ๋ยรอบสอง ซึ่งเป็นปุ๋ยสูตรแดงเพื่อบำรุงการสร้างรวงข้าว เมื่อหว่านปุ๋ยไปแล้วจะเอาน้ำเข้านาซึ่งน้ำจะละลายปุ๋ยและต้นข้าวจะดูดซึมปุ๋ยได้ดี เหมือนการกินอย่างหิวกระหาย





ข้าวทั้ง 3 ลักษณะก็ต้องเก็บข้อมูลต่อไป ติดตามการเจริญเติบโตอย่างใกล้ชิด เพราะต้องสรุปให้ได้ว่าข้าวลักษณะใดเป็นข้าวสินเหล็กพันธุ์แท้และจะต้องถอนต้นลักษณะอื่นออกก่อนที่จะเกิดการผสมเกษร สำหรับการทำให้สายพันธุ์นิ่งคงต้องใช้เวลาอีกสักระยะ ข้าวรุ่นนี้เป็นฤดูที่ 3 ต้องรออีกราว 5 ฤดู จึงจะครบ 8 ฤดู ที่จะทำให้ได้สายพันธุ์แท้ที่นิ่ง





ความชื้นในดินยังมีมากพอที่แหนแดงจะใช้ในการดำรงค์ชีวิต




เก็บข้อมูลเมื่อวันจันทร์ ที่ 24 กุมภาพันธุ์ 2557

วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ข้าวนาปรังข้าวสินเหล็กพันธุ์แท้ อายุ 9 สัปดาห์

เข้าสู่สัปดาห์ที่ 9 สำหรับข้าวสินเหล็กในแปลงขยายพันธุ์แท้ ข้าวที่โตแล้วก็แตกกอดี ส่วนข้าวที่ส่ามก็เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็มีบางบริเวณที่ยังโตช้ามาก แปลงนาไม่เรียบบางบริเวณสูง บางบริเวณต่ำ ทำให้ขังน้ำได้ไม่ทั่วถึง วัชพืชจึงเกิดขึ้นเยอะในบริเวณที่ไม่มีน้ำขังสูง






ในส่วนที่แบ่งไว้เก็บข้อมูล ข้าวแตกกอดี ต้นเขียวสม่ำเสมอ ความสูงสม่ำเสมอ บริเวณนี้สามารถขังน้ำได้ในระดับน้ำที่สูง ทำให้ควบคุมวัชพืชได้ดี



 ข้าวลักษณะที่ 1 มีแนวโน้มที่จะเป็นพันธุ์แท้มากที่สุด แต่ก็ต้องรอเก็บข้อมูลไปจนกว่าจะออกรวง




ข้าวลักษณะที่ 2 แตกกอดี มองผิวเผินคล้ายกับข้าวหอมมะลิ




ข้าวลักษณะที่ 3 ถ้าเปรียบเทียบกับข้าวลักษณะอื่น ข้าวลักษณะที่ 3 จะต้นสูงกว่าแต่แตกกอน้อยกว่า




ในการตรวจแปลงแต่ละครั้งถ้าพบข้าวปนหรือวัชพืชก็กำจัดไปพร้อมกัน วัชพืชบางชนิดใช้วิธีย่ำลงโคลน



วัชพืชบางชนิดก็มีลักษณะคล้ายข้าวสินเหล็กมาก เช่น หญ้าข้าวนก แต่หญ้าจะไม่มีเยื่อกันน้ำฝนและเขี้ยวกันแมลง



ไส้เดือนก็กำลังเติบโต ขยายพันธุ์ทั่วทั้งแปลงนา ย่อยสลายซากพืชแล้วถ่ายมูลให้เป็นปุ๋ยแก่ต้นข้าว




 เก็บข้อมูลเมื่อวันจันทร์ ที่ 17 กุมภาพันธุ์ 2557