วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คัดข้าวปลูก

ข้าวนาโรงเรียนอายุครบ 1 สัปดาห์ ข้าวหอมมะลินิลและข้าวสินเหล็ก ความสูงเฉลี่ย 15 เซนติเมตร มีใบแท้ 2 ใบ บางจุดที่ดินมีความชุ่มชื้นดี ข้าวสูง 20 เซนติเมตร ข้าวงอกดีสม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง ส่วนข้าวเล็บนกที่งอกช้ากว่าข้าวอีกสองพันธุ์ ต้นสูงเฉลี่ย 10 เซ็นติเมตร มีใบแท้ 1 ใบ
                             

แปลงที่ 1 ข้าวหอมมะลินิล

ต้นข้าวหอมมะลินิลในแปลงที่ 1

แปลงที่ 2 ข้าวเล็บนก

ต้นข้าวเล็บนกในแปลงที่ 2

แปลงที่ 3 ข้าวหอมมะลินิล

ต้นข้าวหอมมะลินิลในแปลงที่ 3

แปลงที่ 4 ข้าวหอมมะลินิล

ต้นข้าวหอมมะลินิลในแปลงที่ 4

แปลงที่ 5 ข้าวหอมมะลินิล

ต้นข้าวหอมมะลินิลในแปลงที่ 5

แปลงที่ 6 ข้าวหอมมะลินิล

ต้นข้าวหอมมะลินิลในแปลงที่ 6

ข้าวบางจุดต้นสูง 20 เซ็นติเมตร


 เก็บข้อมูลวันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม 2556

ข้าวนาเช่า อายุครบ 1 สัปดาห์


หลังหว่านข้าว ผ่านไป 1 สัปดาห์


บริเวณพื่นที่ที่จะต้องซ่อมข้าว

              ข้าวนาเช่า เมื่ออายุครบ 1 สัปดาห์หลังจากเริ่มงอกเมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน 2556 ความสูงโดยเฉลี่ย ข้าวหอมนิล 15 เซนติเมตร ข้าวดอ 10 เซนติเมตร และข้าวสินเหล็ก 10 เซนติเมตร เพราะงอกช้ากว่าข้าวสองพันธุ์ข้างต้น ข้าวหอมนิลบางต้นสูง 20 เซนติเมตร ส่วนมากแล้วมีใบแท้ 2 ใบ โดยใบแท้ใบที่ 2 กำลังม้วนใบเป็นหลอดอยู่ที่ยอด บางส่วนที่ต้นเจริญเติบโตเร็วก็กำลังมีใบแท้ใบที่ 3 บริเวณที่มีน้ำขังซึ่งคาดว่าจะได้ซ่อมข้าว น้ำเริ่มแห้งลงหลังจากที่ฝนหยุดตกมาตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2556 นอกจากบริเวณที่มีน้ำขังที่ข้าวไม่งอกยังพบบางบริเวณที่ข้าวงอกน้อยมากถึงไม่งอกเลย อาจเป็นเพราะเกิดความสับสนระหว่างที่หว่าน จำจุดสุดท้ายไม่ได้ว่าอยู่ตรงไหนและหว่านผ่านไป พื้นที่ที่จะต้องซ่อมข้าวจึงเพิ่มจากที่คาดไว้ 1 ไร่ ส่วนจะเพิ่มเป็นเท่าไหร่ต้องรอให้ผ่านช่วงต้นเดือนกรกฎาคมนี้ไปก่อน เพราะเป็นช่วงที่พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรทำนายว่าจะเป็นช่วงที่ฝนทิ้งช่วง

วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ข้าวเริ่มงอก(นาเช่า)



ข้าวนาเช่าที่หว่านเมื่อ 20/06/56 เริ่มงอกเมื่อวันที่ 23/06/56 โดยข้าวที่งอกดีคือข้าวหอมมะลินิล ข้าวดอ และข้าวสินเหล็กจากบ.นวัตกรรมชาวบ้าน ส่วนข้าวสินเหล็กของกรมการข้าวอัตราการงอกต่ำที่สุด ประกอบกับข้าวของกรมการข้าวนี้มีเมล็ดลีบปนมาเยอะมาก ในขั้นตอนการหว่านที่ใช้แรงงานหลายคนซึ่งมือหนักมือเบาต่างกัน ไม่สามารถกำหนดให้ทุกคนหว่านหนาได้เท่ากัน ทำให้ไม่สามารถกระจายเมล็ดข้าวที่สมบูรณ์ให้ทั่วแปลงนาได้อย่างเหมาะสม ข้าวของกรมการข้าวจึงงอกมาบางตากว่าข้าวแปลงอื่น พื้นนาบางส่วนมีน้ำขังซึ่งอาจทำให้เมล็ดข้าวเน่าและจะต้องซ่อม รวมพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ โดยจะถอนข้าวจากบริเวณที่ข้าวขึ้นถี่เอามาซ่อม

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

หว่านข้าวนาเช่า







สรุปการหว่านข้าวนาเช่า พื้นที่นา 50 ไร่

กิจกรรม
รายละเอียด
งบประมาณ(บาท)
1. ปุ๋ย
ใช้ปุ๋ยขี้ไก่อัดเม็ด แม่โจ้การเกษตร จำนวน 24 ถุง ถุงละ 50 กกรวมน้ำหนักปุ๋ย 1200 กกคิดเป็น 24 กก./ไร่
3,720.00-
2. พันธุ์ข้าว
ใช้พันธุ์ข้าว3สายพันธุ์ดังนี้
ข้าวสินเหล็ก 356กกกก.ละ 30 บาท  เป็นเงิน 10680 บาท
โดยแบ่งเป็น



14,340.00-
ข้าวจากบ.นวัตกรรมชาวบ้าน 10 ถุง ถุงละ 25 กก.  รวม 250 กกเป็นเงิน 7500 บาท
ข้าวจากบ.นวัตกรรมชาวบ้าน 3 ถุง น้ำหนัก 34.6 กก. 35.2 กกและ 36.2 กกรวม 106 กกเป็นเงิน 3180 บาท
ข้าวหอมมะลินิลพันธุ์ของโรงเรียน 180 กกกก.ละ 18 บาท เป็นเงิน เป็นเงิน 3240 บาท
ข้าวดอ (ข้าวเหนียวพันธุ์พื้นบ้าน) 28 กกกก.ละ 15 บาท เป็นเงิน 420 บาท
รวมใช้พันธุ์ข้าว 564กกคิดเป็น 11.28กก./ไร่
3. รถไถ
ค่าจ้างรถไถนา 2 ครั้ง โดยแบ่งเป็น
22,500.00-
ไถดะ 30 ไร่ ไร่ละ 250 บาท เป็นเงิน 7500 บาท
ปั่นหว่าน 50 ไร่ ไร่ละ 300 บาท เป็นเงิน15000 บาท
รวมต้นทุน
40,560.00-

* ต้นทุนยังไม่รวมค่าจ้างแรงงาน ค่าน้ำมันรถในการบรรทุกข้าวและปุ๋ย
* เหลือพันธุ์ข้าวสินเหล็กสำรองเผื่อซ่อม ประมาณ 80 กก.


วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ไถฮุดนา (ไถดะ)

ในส่วนของพื้นที่นาเช่า ซึ่งจะทำเป็นนาหว่าน โดยจะหว่านข้าวหอมมะลินิลที่ทางโรงเรียนปลูกเมื่อปีที่แล้วและเก็บพันธุ์ข้าวเอาไว้ จะไถตากดินตากหญ้าไว้สักระยะแล้วจึงจะหว่านข้าว




                                    ฤดูกาลผ่านห้วงล่วงวสันต์
                                    ฤดีอันอ่อนแรงก็แกร่งกล้า
                                    พิรุณโปรยพร่างพรายระบายฟ้า
                                    ชุบผืนนาคืนชีวิญแผ่นดินเดิม
                                    วิถีเก่าเล่าขานตำนานข้าว
                                    ร้อยเรื่องราวเรียงรัดกระหวัดเสริม
                                    รุ่นต่อรุ่นสืบสร้างต่างต่อเติม
                                    วิถีเดิม   วิถีข้าว   ชาวนาไทย

วิธีปฏิบัติ ตลอดการปลูกข้าว 1 ฤดู โรงเรียนนอกกะลา


วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กิจกรรมการทำนา โรงเรียนนอกกะลา



          กิจกรรมการทำนาตลอด 1 ฤดู ปี 2556 ทั้งกิจกรรมที่ได้ลงมือทำไปแล้ว
และกิจกรรมที่จะทำในเดือนถัดไป

วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556

พื้นที่แปลงนาที่โรงเรียนเช่า

พื้นที่ทั้งหมด 50 ไร่ สามารถทำนาได้ประมาณ 30 ไร่ เป็นนาดินทราย พื้นที่นามีความต่างระดับกันสามระดับ เหมือนขั้นบันได พื้นที่บางส่วนเป็นดินเดิมมีหญ้าขึ้นคลุมดิน บางส่วนถูกลอกหน้าดินออกไป ไม่มีหญ้าขึ้นเลย มีแหล่งน้ำผิวดินเป็นบ่อขุดหนึ่งบ่อ น้ำบาดาลหน้ากว้างหกนิ้วหนึ่งบ่อ

ปุ๋ยอินทรีย์ที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาเลือกใช้ในการทำนาปีนี้ 2556

ข้อควรปฏิบัติก่อนใส่ปุ๋ยในนาข้าว                                                                                       
1.ควรปรับระดับดินในแปลงนาให้เรียบสม่ำเสมอ เพราะพื้น ที่ดินต่ำเมื่อใส่ปุ๋ยมากอาจ ทำให้ต้นข้าวล้ม ส่วนพื้นที่ดินสูงน้ำท่วมไม่ถึงอาจมีวัชพืชขึ้นมาก
2.ควรทราบพื้นที่นาแต่ละแปลง เพื่อจะได้คิดคำนวณน้ำหนักปุ๋ยที่จะใส่ในแต่ละแปลงได้ถูกต้องเพื่อให้การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพสูงสุด
3.ต้องอุดคันนาไม่ให้น้ำรั่วไหลเพื่อป้องกันไม่ให้ปุ๋ยไหลตามน้ำออกไปจากแปลงนา
4.น้ำในนาต้องมีเพียงพอ โดยเฉพาะระยะที่ข้าวกำลังออกรวงถ้าขาดน้ำจะทำให้ผลผลิตต่ำ (ระยะที่ต้องใส่ปุ๋ยควรให้มีน้ำขัง ประมาณ 5 – 10 เซนติเมตรหรือประมาณหนึ่ง ฝ่ามือ)

ข้อควรทราบ
      การใช้ปุ๋ยสำหรับข้าวอายุ 20- 30 วัน หรือระยะแรก ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตราขวัญดิน สูตรเขียว

สำหรับต้นข้าวระยะที่สอง
      
ระยะตั้งท้อง ออกรวง กำเนิดช่อดอก ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตราขวัญดินสูตรแดง 
ในกรณีที่ต้นข้าวโตช้า ไม่แข็งแรง แตกกอน้อย ต้นข้าวต้านทานโรคไม่ดี ต้นแกนไม่สมบรูณ์ ให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตราขวัญดินสูตรเขียว

ประโยชน์ของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตราขวัญดินในนาข้าว
1. ช่วยเพิ่มผลผลิต 18-20% ต่อพื้นที่ 1 ไร่
2 .ต้นข้าวแข็งแรง ไม่ล้มง่ายทนทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ระบบรากข้าวทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณภาพข้าวดีขึ้น เมล็ดสวย ไม่หักง่าย ได้น้ำหนัก เมื่อนำไปหุงจะมีกลิ่นหอม รสชาติดี เพราะได้รับธาตุอาหารตามธรรมชาติ
3. ช่วยลดต้นทุนการผลิต ประมาณ 15-50% เพราะลดการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงซึ่งมีราคาแพง 
4.ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตราขวัญดินต่อเนื่องทุกฤดู จะฟื้นฟูสภาพดินให้อุดมสมบูรณ์ขึ้นได้อย่างรวดเร็ว 
5.ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ทำให้ระบบนิเวศธรรมชาติกลับคืนสู่ผืนดิน

ข้อควรระวัง
       การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ตราขวัญดินในปริมาณที่มากเกินไป หรือกองไว้เป็นจุด ๆ แทนที่จะหว่านให้ทั่วนั้นจะเป็น อันตรายกับรากพืช และทำให้พืชเหลืองแห้งตาย เกิดการสูญเสียปุ๋ยโดยเปล่าประโยชน์เนื่องจากการชะล้างและไหลบ่าได้